สภาพและข้อมูลพื้นฐาน

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานตำบลมูโนะ

              ตำบลมูโนะ  เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส โดยแบ่งออกเป็น ๕ หมู่บ้าน ได้แก่

               หมู่ที่ ๑ บ้านมูโนะ คำว่า “มูโนะ” มาจากคำว่า  “กาแจมูโนะ” ซึ่งมาจากชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่งลักษณะใบเหมือนใบของต้นถั่วฝักยาว มีลำต้นที่ใหญ่มากและสูงกว่าต้นไม้อื่นๆ ในบริเวณเดียวกัน เป็นไม้ยืนต้นเนื้อแข็ง ผลของมันมีรสเปรี้ยวหวาน และเป็นต้นไม้ที่ให้ความร่มรื่นแก่ชาวบ้านที่ผ่านไปมา ทำให้เป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

สภาพทั่วไป 

๑.ขนาดเนื้อที่ประมาณ ๑,๘๘๕  ไร่  คิดเป็นร้อยละ  ๑๓.๙๒  ของพื้นที่ทั้งหมด  ๑๓,๕๓๘  ไร่ ของตำบลมูโนะ

๒.อาณาเขตติดต่อ

ทิศเหนือ                ติดต่อกับ     หมู่ที่  ๒  บ้านลูโบ๊ะลือซง

ทิศใต้                     ติดต่อกับ      ประเทศมาเลเซีย และตำบลปาเสมัส

ทิศตะวันออก      ติดต่อกับ      หมู่ที่ ๓  บ้านปาดังยอ และประเทศมาเลเซีย

ทิศตะวันตก         ติดต่อกับ      หมู่ที่ ๕ บ้านบูเก๊ะ

ลักษณะภูมิประเทศ

              บ้านมูโนะ  หมู่ที่ ๑  ตำบลมูโนะ  ตั้งอยู่ห่างจากตัวอำเภอสุไหงโก-ลก  ประมาณ ๑๐  กิโลเมตร มีลักษณะเป็นที่ราบเชิงเขาลาดเอียง   ติดกับแม่น้ำสุไหงโก-ลก    พื้นที่ชุมชนจะอยู่กันไม่หนาแน่น แต่กระจุกเป็นกลุ่มๆ บางพื้นที่โดยเฉพาะในเขตตลาดมูโนะ และในเขตปอเนาะใน

การประกอบอาชีพ

               ราษฎรบ้านมูโนะ  ประกอบอาชีพค้าขายเป็นหลัก   โดยมีตลาดนัดมูโนะเป็นตลาดนัดที่ใหญ่ที่สุดในอำเภอสุไหงโก-ลก   อาชีพรองลงมาคือรับจ้าง  เช่น  ปักดอกเสื้อ และอาชีพเกษตรกรรม  เช่น กรีดยาง  ทำนา

เขตการปกครอง

-ชุมชนตลาดศรีมูโนะ    –  ชุมชนปอเนาะนอก

-ชุมชนตาเซะ                    -ชุมชนลูกเสือ (บริเวณหลังมัสยิด)

-ชุมชนปอเนาะใน            -ชุมชนบาโงมาเนาะ

การปกครองท้องที่

–  ผู้ใหญ่บ้าน  นายสาลีมี หะยีดอเลาะ

–  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง   นายซาลมีดี หะยีดอเลาะ

–  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง  นางสาวเปรมวดี รัดรึงสุนทรี

–  ผรส.     นายมาหามะนาเซ เจ๊ะมามะ

–  ผรส.     นายมาหามะนอ มะตาเเซ

–  ผรส.     นายฮีลมี อารง

–  ผรส.     นายสุนทร มามุ

 -ผรส.      นางสาวอานูญา เปาะอาเดะ

 

สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล

– นายสมาน สาและ

–  นายมาหามะอายือมี เจ๊ะเลาะ

 

ผู้นำศาสนา

– อิหม่าม   นายอับดุลฮาเรส หะยีรอยาลี

– คอเต็บ    นายมะยิ   เจ๊ะอาแซ

– บิหลั่น     นายรุสดี  อาแว

ศาสนสถาน

-มัสยิด                   –  ดารุสลาม

-บาลาเซาะ           –  บาลาเซาะลูโบะกูแว

                                   –  บาลาเซาะบือซา (ปอเนาะใน)

                                   –  บาลาเซาะศูนย์พัฒนา (บาลาเซาะเปาะซูมะเย็ง)

                                   –  บาลาเซาะนูรฮูดา (ปอเนาะปะดอแลแม)

                                   –  บาลาเซาะบาโงมาเนาะ

                                    – บาลาเซาะตาเซะ

กูโบร์                         –  กูโบร์สุเหร่า

                                      -กูโบร์ลูโบะกูแว

สถานศึกษา           

โรงเรียนสามัญ           โรงเรียนบ้านมูโนะ  เปิดสอนระดับประถมศึกษา – มัธยมต้น

โรงเรียนตาดีกา           ตาดีกาดารุสลามมูโนะ

                                           ตาดีกาดารุสลามบรือโมง

                                           ตาดีกาดารุสลามตาเซะ

โรงเรียนเอกชน           โรงเรียนนะห์ฎอฏุลอิสลาฮียะห์   เปิดสอนระดับมัธยมและศาสนา

                                           โรงเรียนดารุลฮุสนา เปิดสอนระดับอนุบาล – ระถมศึกษา

ปอเนาะ                           ปอเนาะเราเฎาะอัลฆอซาลี (ปอเนาะใน)

                                           ปอเนาะนูรูลฮูดา(ปอเนาะนอก)

 

ถนน             

๑.ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข  ๔๐๕๗

๒.ถนนลาดยางสายกูโบร์สามแยก ร.ร.บ้านมูโนะ ยาว ๕๐๐ เมตร

๓. ถนนลาดยางสายตลาดนัดเก่า – สามแยกตลาดมูโนะ ยาว ๒๕๐  เมตร

๔. ถนน  คสล.ซอยขี้แพะ ยาว ๑๕๐ เมตร

๕. ถนน   คสล.ซอยดาโต๊ะ  ยาว ๒๒๐  เมตร

๖. ถนน คสล.สายตลาดมูโนะ – ร.ร.บ้านมูโนะ ยาว ๒๕๐  เมตร

๗. ถนน คสล.หลัง อบต.มูโนะ ยาว ๑๘๐ เมตร

๘. ถนน คสล.หลังมัสยิดมูโนะ – ร.ร.นะห์ฎอฏุลอิสลาฮียะห์ ยาว ๕๕๐  เมตร

๙.ถนน คสล.สายปอเนาะ – หัวสะพาน ยาว ๒๐๐ เมตร

๑๐.ถนน คสล.สายปอเนาะใน – ชลประทาน ยาว ๕๐๐  เมตร

๑๑.ถนน คสล.สายตลาดมูโนะ – ชลประทาน ยาว ๕๐๐  เมตร

๑๒.ถนน คสล.สายตาเซ๊ะ – ชลประทาน ยาว ๗๐๐  เมตร

 

หมู่ที่  ๒   บ้านลูโบ๊ะลือซง   คำว่า “ลูโบ๊ะลือซง” มาจากคำ  ๒  คำ มารวมกัน คือ คำว่า “ลูโบ๊ะ” มีความหมายว่า”บึง” และคำว่า “ลือซง” มีความหมายว่า “ครก” ซึ่งรวมกันเป็น “ลูโบ๊ะลือซง” มีความหมายว่า “บึงครก”

สภาพทั่วไป

๑.ขนาดเนื้อที่ประมาณ ๓,๐๖๗  ไร่  คิดเป็นร้อยละ  ๒๒.๖๖ ของพื้นที่ทั้งหมด  ๑๓,๕๓๘  ไร่ ของตำบลมูโนะ

๒.อาณาเขตติดต่อ

ทิศเหนือ               ติดต่อกับ   หมู่ที่  ๑  บ้านมูโนะ  และหมู่ที่  ๕  บ้านบูเก๊ะ

ทิศใต้                     ติดต่อกับ   หมู่ที่ ๔  บ้านปูโป๊ะ

ทิศตะวันออก      ติดต่อกับ   หมู่ที่ ๓  บ้านปาดังยอ

ทิศตะวันตก         ติดต่อกับ   หมู่ที่ ๔  บ้านกูแบอีแก  ตำบลปูโยะ

 

ลักษณะภูมิประเทศ

             พื้นที่หมู่บ้านลูโบ๊ะลือซง  หมู่ที่ ๒  ตำบลมูโนะ  อยู่ห่างจากตัวอำเภอสุไหงโก-ลก  ประมาณ  ๑๓  กิโลเมตร สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบและที่ราบลุ่ม

การประกอบอาชีพ

ราษฎรในหมู่บ้านลูโบ๊ะลือซง  โดยส่วนใหญ่แล้วประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป  ทำการเกษตร

 

เขตการปกครอง

-ชุมชนลูโบ๊ะลือซง

 -ชุมชนโคกกลาง

-ชุมชนบาโงแบกอ

 

การปกครองท้องที่

ผู้ใหญ่บ้าน     นายนาทวี  ตันเหมนายู

ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง  นายพรรดี      เจ๊ะโก๊ะ

ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง  นายสำราญ   ยะโก๊ะ

ผรส.                 นางเสาร์แก้ว  มามะ

ผรส.                 นายสะมะแอ   อาแวสือนิ

ผรส.                 นายอนุชิต       ภาควันต์

 ผรส.                นายมาหามะสอบรี  ยูโซะ

 ผรส.                 นายไซดิง       มาหามะ

 

สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล

– นายอับดุลฮาเล็ม อาแว

ผู้นำศาสนา

มัสยิดอัลเราะมาน

 อิหม่าม               นายมาหามะสากรี   มะดาโอ๊ะ

 คอเต็บ                นายสะมะแอ  ยูโซะ

 บิหลั่น                  นายหามะรูดิง หามะ

มัสยิดมุสตากีม

อิหม่าม                  นายมาหามะสักรี  รอนี

คอเต็บ                   นายอาหามะ  สะมะแอ

บิหลั่น                     นายอิสมาแอ  ยะโก๊ะ

ศาสนสถาน 

  มัสยิด                      อัลเราะมาน

                       มุสตากีม

  บาลาเซาะ             บาลาเซาะลูโบ๊ะลือซง

   กูโบร์                       กูโบร์ลูโบ๊ะลือซง

                        กูโบร์โคกกลาง

 

สถานศึกษา

โรงเรียนสามัญ         โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะลือซง  เปิดสอนระดับประถมศึกษา

โรงเรียนตาดีกา         ตาดีกาอัลเราะมาน

                                         ตาดีกาอัลมุสตากีม

ถนน ๑.  ทางหลวงจังหวัด  หมายเลข  ๔๐๕๗

๒.ถนนลาดยางสายบาโงแบกอ – ปูโยะ ยาว ๙๐๐  เมตร

๓.ถนน คสล.สายบาโงแบกอ – กัวลอกรุง ยาว  ๓๐๐ เมตร

๔.ถนน คสล.สายกูโบร์ ยาว  ๒๕๐  เมตร

๕.ถนน คสล.สายลูโบ๊ะลือซง – ปาดังยอ ยาว  ๓,๕๐๐  เมตร

๖.ถนน คสล.สายโคกกลางใน – ปอเนาะ ยาว  ๕๐๐ เมตร

๗.ถนนหินคลุกสายปอเนาะ – โคกกลางใน ยาว  ๒๐๐ เมตร

๘.ถนนหินคลุกสายหน้ามัสยิดโคกกลาง ยาว  ๕๐๐  เมตร

๙.ถนนหินคลุกสายกูแบฆอเลาะ – กูแบปาเซ ยาว  ๑,๒๐๐  เมตร

 

หมู่ที่  ๓  บ้านปาดังยอ   คำว่า“ปาดังยอ” มีความหมายว่า “สวน(สนาม)มะพร้าว” หรือ“ทุ่งมะพร้าว”

เพราะคำว่า “ปาดัง” มีความหมายว่า “สนาม” หรือ “ทุ่ง” และคำว่า “ยอ” มีความหมายว่า “มะพร้าว”

สภาพทั่วไป

๑. ขนาดเนื้อที่ประมาณ  ๒,๗๔๗  ไร่  คิดเป็นร้อยละ  ๒๐.๒๙  ของพื้นที่ทั้งหมด ๑๓,๕๓๘  ไร่ ของตำบลมูโนะ

๒. อาณาเขตติดต่อ

ทิศเหนือ                 ติดต่อกับ   หมู่ที่ ๑ บ้านมูโนะ

ทิศใต้                       ติดต่อกับ   บ้านแฆแบะ  ตำบลนานาค

ทิศตะวันออก        ติดต่อกับ   แม่น้ำสุไหงโก-ลก

ทิศตะวันตก           ติดต่อกับ   หมู่ที่ ๒ บ้านลูโบ๊ะลือซง และหมู่ที่ ๔ บ้านปูโปะ

ลักษณะภูมิประเทศ

              บ้านปาดังยอ  หมู่ที่ ๓  ตำบลมูโนะ  อยู่ห่างจากตัวอำเภอสุไหงโก-ลก  ประมาณ  ๑๕  กิโลเมตร  สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม และมีพื้นที่ติดกับประเทศมาเลเซีย โดยมีแม่น้ำโก-ลก เป็นแนวเขตพรมแดน

การประกอบอาชีพ

              ราษฎรในหมู่บ้านปาดังยอ โดยส่วนใหญ่แล้วประกอบอาชีพทำเกษตร และรับจ้างทั่วไป

เขตการปกครอง

ชุมชนบรือมง           

– ชุมชนบาโงจีนอ    

 – ชุมชนปือรือเดาะ   

– ชุมชนปาดังยอ 

– ชุมชนบาโงปูโปะ

การปกครองท้องที่

ผู้ใหญ่บ้าน                                           นายมุสตอปา  อาบะ               

ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง     นายสะมะแอ  บือราเฮ็ม         

ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง     นางกมลทิพย์  เปาะอาเดะ

 ผรส.        นายอับดุลเลาะ      แวหะมะ

 ผรส.        นายปรีดา                  เปาะแฉะ                 

 ผรส.        นายมูหามะรีดวน   ดือรอนิง 

 ผรส.        นายบาฮารูเด็น         นาเซ                     

 ผรส.        นายอับดุลฮาเล็ม    เจ๊ะมะ

สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ

             นายแปนดี   อารง                      

ผู้นำศาสนา

อิหม่าม                     นายบาดือรี หะยีแวหะมะ

คอเต็บ                       –

บิหลั่น                        นายนาปี สามะ

ศาสนสถาน 

มัสยิด                          มัสยิดอรอฮีม

            มัสยิดกูโบร์ (ไม่จดทะเบียน)

บาลาเซาะ                  บาลาเซาะบาโงจีนอ  

                          บาลาเซาะนูรุลมุสตากีม

                          บาลาเซาะบรือมง

                                                     บาลาเซาะบาโงปูโปะ

                                                     บาลาเซาะปรือเดาะ

กูโบร์                             กูโบร์ปาดังยอ

สถานศึกษา

โรงเรียนสามัญ           โรงเรียนบ้านปาดังยอ  เปิดสอนระดับประถมศึกษา

ศูนย์อบรมเด็กฯ           ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดอรอฮีม

โรงเรียนตาดีกา           ตาดีกาอะเราะเฮม

ถนน

๑.ถนนลาดยางสายชลประทาน – เขตตำบลนานาค ยาว  ๓,๒๐๐  เมตร

๒.ถนน คสล.สายบาโงจีนอ ยาว ๙๐๐  เมตร

๓.ถนนหินคลุกสายริมคลอง ยาว ๑๕๐ เมตร

๔.ถนน คสล.สายบรือมง ยาว  ๓๒๐  เมตร

๕.ถนน คสล.สายบรือมง ยาว ๒๕๐ เมตร

๖.ถนนลาดยางสายปาดังยอ – โคกกลาง ยาว  ๔๐๐  เมตร

๗.ถนนลาดยางซอยรอปาอุทิศ ยาว  ๒๐๐ เมตร

๘.ถนนลาดยางซอยกูโบร์ ยาว  ๑๕๐  เมตร

๙.ถนนคสล.สาย อบต.๔๗ ยาว  ๒๐๐  เมตร

๑๐.ถนนคลส.สายกูแบกือแย – บาโงปูโป๊ะ  ยาว  ๑,๑๐๐  เมตร

๑๑.ถนน คสล.สายบาโงปูโป๊ะ – ปูโป๊ะ  ๑,๒๐๐ เมตร

หมู่ที่  ๔  บ้านปูโป๊ะ   คำว่า “ปูโป๊ะ”  มาจาก “กวาลอปูโป๊ะ”  มีความหมายว่า “ปากอ่าวปูโป๊ะ” และ

“ปูโป๊ะ” เป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ขึ้นในบริเวณปากอ่าว

สภาพทั่วไป

๑. ขนาดเนื้อที่  ๓,๕๐๐  ไร่ คิดเป็นร้อยละ  ๒๕.๘๕  ของพื้นที่ทั้งหมด ๑๓,๕๓๘  ไร่ของตำบลมูโนะ

๒. อาณาเขตติดต่อ

ทิศเหนือ               ติดต่อกับ   ตำบลนานาค

ทิศใต้                     ติดต่อกับ   หมู่ที่ ๒  บ้านลูโบ๊ะลือซง

ทิศตะวันออก      ติดต่อกับ   หมู่ที่ ๓  บ้านปาดังยอ

ทิศตะวันตก          ติดต่อกับ   หมู่ที่ ๖  ตำบลปูโยะ

ลักษณะภูมิประเทศ

           บ้านปูโป๊ะ  หมู่ที่ ๔  ตำบลมูโนะ  อยู่ห่างจากตัวอำเภอสุไหงโก-ลก  ประมาณ  ๑๕  กิโลเมตร  มีลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบ

การประกอบอาชีพ

          ราษฎรในหมู่บ้านปูโป๊ะ  ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป เช่น  รับจ้างปักดอก ก่อสร้าง และอาชีพรองลงมาคืออาชีพเกี่ยวกับเกษตรต่างๆ  เช่น  เลี้ยงโค กระบือ ทำสวนยาง ทำนา

เขตการปกครอง

ชุมชนปูโป๊ะกลาง    

– ชุมชนกูแบปาเซ       

– ชุมชนกวาลอมาแต

– ชุมชนปูโป๊ะใต้

การปกครองท้องที่

กำนัน    ว่าที่ร้อยตรีประเสริญ อาแว         

ผู้ช่วย    นางสาวมารีย๊ะ     ปะดาเดะ

ผู้ช่วย    นายอุสมาน           อาแว

ผรส.      นายมูหะมะอัซรี  ดือเลาะ

ผรส.      นายอาฮามะ         อาแวกือแจะ

ผรส.      นายสติ                    มะแอ   

ผรส.      นายสมพร              แสนคำมา

ผรส.       –        

สารวัตรกำนัน                  นายมาหามะ  เจ๊ะอารง

แพทย์ประจำตำบล       นายอัซมี อาแซ

สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ

             นายมะดาโอะ  มามุ

ผู้นำศาสนา

              อิหม่าม                             นายสือแม  อาแว

คอเต็บ                              นายยา  มะแลนอ   

บิหลั่น                                นายยะโกะ  เจ๊ะดือราแม

ศาสนสถาน 

มัสยิด                                 มัสยิดอิสลามียะห์ 

                                              มัสยิดบาลาดารุสนาอีม (กวาลอมาแต) (ไม่จดทะเบียน)

                                                           มัสยิดดารุลอามาน (ปูโป๊ะใต้)

บาลาเซาะ                        บาลาเซาะอุสมาเนียะห์ (กูแบปาเซ)

                                              บาลาเซาะนูรูลอีมาน (ปูโปะใต้)

กูโบร์                                   กูโบร์ปูโป๊ะ

สถานศึกษา

โรงเรียนสามัญ                โรงเรียนบ้านปูโปะ  เปิดสอนระดับประถมศึกษา – มัธยมตอนต้น

ศูนย์อบรมเด็กฯ                ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดอิสลามียะห์

โรงเรียนตาดีกา                ตาดีกาอิสลามียะห์

       ตาดีกาดารูลนาอีม

ปอเนาะ                                ปอเนาะดารุลอาบีดีน

ถนน

๑.ถนน คสล.สายปูโป๊ะใต้ ยาว  ๒๐๐  เมตร

๒.ถนนลาดยางสายปูโป๊ะกลาง ยาว  ๒๕๐  เมตร

๓.ถนนหินคลุกสายกวาลอมาแต – ชลประทาน ยาว  ๒๐๐  เมตร

๔.ถนนลูกรังสายชลประทาน – โคกสือแด ยาว  ๔๐๐  เมตร

๕.ถนนลูกรังสายชลประทาน – ปูโยะ ยาว  ๖๐๐  เมตร

๖.ถนน คสล.สายมะซูยีอุทิศ ยาว  ๒๕๐  เมตร

๗.ถนนคสล.สายกูแบรามา – กวาลอมาแต ยาว  ๒,๐๐๐  เมตร

๘.ถนน คสล.กูแบปาเซ – กูแบรามา ยาว  ๒๐๐  เมตร

๙.ถนนลาดยางสายกูแบปาเซ – บึงรามิง ยาว ๒,๐๐๐ เมตร

๑๐.ถนน คสล.สายกูแบปาเซ – ปอเนาะ  ยาว  ๙๐๐ เมตร

๑๑.ถนน คสล.สายปอเนาะ  ยาว  ๒๐๐  เมตร

๑๒.ถนนหินคลุกสายปอเนาะ – ชลประทาน  ยาว  ๓๕๐  เมตร

๑๓.ถนนลาดยางสายมิยาซาวา  ยาว  ๕๐๐  เมตร

หมู่ที่  ๕  บ้านบูเก๊ะ   คำว่า “บูเก๊ะ” เป็นภาษามลายูท้องถิ่น ซึ่งมีความหมายว่า “ภูเขา”

สภาพทั่วไป    

๑. ขนาดเนื้อที่  ๒,๓๓๙  ไร่  คิดเป็นร้อยละ  ๑๗.๒๘  ของพื้นที่ทั้งหมด ๑๓,๕๓๘  ไร่ ของตำบลมูโนะ

๒. อาณาเขตติดต่อ

ทิศเหนือ               ติดต่อกับ      หมู่ที่ ๗  ตำบลปาเสมัส

ทิศใต้                     ติดต่อกับ      หมู่ที่ ๒  บ้านลูโบ๊ะลือซง

ทิศตะวันออก      ติดต่อกับ      หมู่ที่ ๑  บ้านมูโนะ

ทิศตะวันตก         ติดต่อกับ      หมู่ที่ ๔  ตำบลปาเสมัส และหมู่ที่ ๑ ตำบลปูโยะ

ลักษณะภูมิประเทศ

บ้านบูเก๊ะ  หมู่ที่ ๕  ตำบลมูโนะ  อยู่ห่างจากตัวอำเภอสุไหงโก-ลก  ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร  ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบ

การประกอบอาชีพ

              ราษฎรในหมู่บ้านบูเก๊ะ  โดยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง  เช่น รับจ้างกรีดยาง  ก่อสร้าง  เป็นต้น  อาชีพรองลงมาคืออาชีพเกี่ยวกับการเกษตร

เขตการปกครอง

บ้านบูเก๊ะ       

– กำปงบารู

– อะโลเปาะโต        

– บาโงมาเนาะ   

– บาโงปาโฮะ

–  ริมถนน

การปกครองท้องที่

ผู้ใหญ่บ้าน                                                   นายบูคอรี  ดาโอ๊ะ       

ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง             นายมาหามะ  เจ๊ะอารง         

ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง             นายมะนาซิ   เจ๊ะดอเลาะ

ผรส.                                                 –

ผรส.                                                 –

ผรส.                                                 –

ผรส.                                                 –

ผรส.                                                 –

สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ

           – นายมะนาซิ เจ๊ะดอเลาะ                    

ผู้นำศาสนา

อิหม่าม                          นายมะนาเซ  เจ๊ะแม

คอเต็บ                           นายสามะแอ  มามะ             

บิหลั่น                             นายยัมดี  ดือรอนิง

ศาสนสถาน 

มัสยิด                               นูรุลยาบาล

บาลาเซาะ                      บาลาเซาะบูเก๊ะ 

                                            บาลาเซาะกำปงบารู

                                            บาลาเซาะบาโงมาเนาะ

กูโบร์                                 กูโบร์ดาลัมกำปง  (บริเวณมัสยิดนูรุลยาบาล)

สถานศึกษา

โรงเรียนเอกชน             โรงเรียนดารุลฟุรกอน  เปิดสอนระดับอนุบาล – ประถมศึกษาปีที่ ๖

ศูนย์อบรมเด็กฯ              ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดนูรุลยาบาล

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก       ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านมูโนะ

โรงเรียนตาดีกา              ตาดีกานูรุลยาบาลบูเก๊ะ 

                                                            ตาดีกานูรุลยาบาล บาโงมาเนาะ

                                              ตาดีกานูรุลยาบาลดาลัมกัมปง

 ปอเนาะ                             ปอเนาะรียาดุซซอลีฮีน

ถนน

๑.ทางหลวงแผ่นดิน  หมายเลข  ๔๐๕๗

๒.ถนนลาดยางสายบูเก๊ะ – โคกตีมุง ยาว  ๑,๒๐๐ เมตร

๓.ถนน คสล.สายกำปงบารู – บูเก๊ะ ยาว  ๘๐๐  เมตร

๔.ถนนลาดยางสายบูเก๊ะ – บาโงปาโฮ๊ะ ยาว ๕๐๐  เมตร

๕.ถนนหินคลุกบาโงปาโฮ๊ะ ยาว  ๑๐๐  เมตร

๖.ถนนลาดยางสายอะโลเปาะโต ยาว  ๖๕๐  เมตร

๗.ถนน คสล.สายบอยอปูเตะ ยาว  ๒๕๐  เมตร

๘.ถนน คสล.สายบอยอปูเตะ ยาว  ๗๐  เมตร

๙.ถนน คสล.สายปะดอแลแม ยาว  ๓๕๐ เมตร

๑๐.ถนน คสล.สายบาโงปาโฮ๊ะ ยาว  ๕๐๐  เมตร

๑๑.ถนน คสล.สายกูแบตูแม – โคกตีมุง  ยาว  ๒๐๐  เมตร

ข้อมูลพื้นฐานตำบลมูโนะ

สภาพทางภูมิศาสตร์ตำบลมูโนะ

             ตำบลมูโนะมีสภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบเชิงเขาลาดเอียง ติดกับที่ราบบริเวณแม่น้ำสุไหงโก-ลก (ฝั่งซ้าย)  และเขตป่าสงวนแห่งชาติ  “ สุไหงปาดี ”  มีอาณาเขตโดยสังเขป  ดังนี้

ทิศเหนือ               ติดต่อกับ          ตำบลปูโยะและอำเภอตากใบ

ทิศใต้                     ติดต่อกับ          ตำบลปาเสมัสและประเทศมาเลเซีย

ทิศตะวันออก      ติดต่อกับ          ประเทศมาเลเซีย

ทิศตะวันตก         ติดต่อกับ          ตำบลปูโยะและตำบลปาเสมัส

ลักษณะชุมชนและการตั้งถิ่นฐาน

            สภาพโดยทั่วไปของตำบลมูโนะ  เป็นที่ราบเชิงเขาลาดเอียง  ลักษณะของตำบลจะเป็นตำบลที่มีขนาดเล็ก  โครงสร้างไม่ซับซ้อน  พื้นที่ชุมชนอยู่กันไม่หนาแน่น กระจายตามสัดส่วนทุกหมู่บ้าน    ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม

สภาพโดยทั่วไปของตำบลมูโนะ

           สภาพโดยทั่วไปของตำบลมูโนะ  สามารถจำแนกออกเป็นด้านต่างๆ  ตามสภาพการพัฒนาของตำบลได้  ดังต่อไปนี้

ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

            การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานในตำบลมูโนะ  ในปัจจุบันถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดีไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาถนน ไฟฟ้า  ประปา ฯลฯ  ประชาชนจะได้รับบริการอย่างทั่วถึง จะมีก็แต่บางส่วนเท่านั้นที่จะต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาเพิ่มเติม

๑.  การคมนาคม

 มีถนนสายหลัก  ๑  สาย  คือ  ทางหลวงจังหวัด  หมายเลข ๔๐๕๗  ผ่านตำบลมูโนะ  ในหมู่ที่ ๑  หมู่ที่  ๒    หมู่ที่  ๔  และหมู่ที่  ๕

–  ถนนเชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้านเป็นถนนลาดยาง , ถนนคอนกรีต และถนนหินคลุก

๒. ไฟฟ้า  ประชาชนในตำบลมูโนะ ได้รับบริการไฟฟ้าอย่างทั่วถึงและเพียงพอ

             ๓. คูระบายน้ำ  ระบบคูระบายน้ำโดยทั่วไป สามารถใช้การได้ดี การก่อสร้างครอบคลุมและทั่วถึงเกือบทุกพื้นที่  มีบางส่วนเท่านั้นที่ต้องก่อสร้างเพิ่มเติมในชุมชนเพื่อเสริมต่อและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขัง

             ๔.  โทรศัพท์  บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)อำเภอสุไหงโก-ลก เป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์ในเขตตำบลมูโนะ สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง มีคู่สายเพียงพอสำหรับให้บริการประชาชนจำนวนหนึ่ง

             ๕.  การจราจร  การจราจรในเขตตำบลมูโนะ เป็นไปอย่างสะดวก ปริมาณการใช้รถ ใช้ถนน ของประชาชนมีไม่มากนัก  ไม่ทำให้เกิดปัญหารถติดแต่อย่างใด

การสัญจรในเขตตำบลมูโนะ

              ๑.  ทางรถยนต์  การเดินทางโดยรถยนต์ในเขตตำบลมูโนะ  มีสภาพถนนที่สะดวกสบายมีถนนสี่เลนส์ตัดผ่านสามารถเดินทางไปมาระหว่างตัวจังหวัดและอำเภอต่างๆ ได้อย่างสะดวกสบาย

              ๒.  ทางรถไฟ   การเดินทางโดยรถไฟ มีสถานีรถไฟ สุไหงโก-ลก  แล้วเดินทางด้วยรถยนต์หรือจักรยานยนต์  ประมาณ  ๑๓  กิโลเมตร  ก็จะถึงตำบลมูโนะ

              ๓.  ทางอากาศ  นราธิวาสมีท่าอากาศยานพาณิชย์  ๑  แห่ง ตั้งอยู่ที่บ้านทอน อำเภอเมือง  จังหวัดนราธิวาส

การสื่อสาร

               ในเขตตำบลมูโนะ  ระบบการสื่อสารและโทรคมนาคม ได้รับบริการที่สะดวกสบายสามารถรับชมโทรทัศน์จากสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทยได้อย่างชัดเจนทุกช่อง  และนอกจากนี้ยังสามารถรับชมการแพร่ภาพของสถานีโทรทัศน์ของประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียได้อีกด้วย

ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

       ด้านทรัพยากรธรรมชาติในตำบลมูโนะ  สามารถจำแนกได้  ดังนี้

๑.  ทรัพยากรที่ดิน  การใช้ทรัพยากรดินในเขตตำบลมูโนะ  ส่วนใหญ่จะใช้เป็นที่อยู่อาศัย  และทำการเกษตร

              ๒.  ทรัพยากรน้ำ  พื้นที่ในตำบลมูโนะ จะมีแม่น้ำไหลผ่านหนึ่งสาย คือ แม่น้ำสุไหงโก-ลก และคลองที่ขุดลอกใหม่ได้แก่คลองชลประทาน

ด้านเศรษฐกิจ

               เศรษฐกิจของประชาชนในเขตตำบลมูโนะ ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย  ทำสวนยางพารา ทำนา และทำสวนผลไม้  เป็นอาชีพหลัก  และประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปเป็นอาชีพรอง

ด้านสังคม

                 ประชาชนในเขตตำบลมูโนะ  ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม การประพฤติปฏิบัติประจำวันของชาวมุสลิมจะถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

ประชากร

ประชากรในเขตตำบลมูโนะ  ณ วันที่  ๓๐ มิถุนายน  ๒๕๖๕  มีจำนวนทั้งสิ้น  ๑๐,๔๓๔  คน  แยกเป็นชาย ๕,๐๔๓  คน  หญิง  ๕,๓๙๑   คน

หมู่ที่ ชื่อบ้าน จำนวนครัวเรือน ประชากร
ชาย หญิง รวม
บ้านมูโนะ ๙๖๔ ๑,๓๐๗ ๑,๓๘๔ ๒,๖๙๑
บ้านลูโบ๊ะลือซง ๓๖๑ ๗๐๕ ๖๙๔ ๑,๓๙๙
บ้านปาดังยอ ๔๗๔ ๙๗๘ ๑,๑๒๓ ๒,๑๐๑
บ้านปูโป๊ะ ๔๗๗ ๑,๐๒๓ ๑,๐๔๕ ๒,๐๖๘
บ้านบูเก๊ะ ๕๕๓ ๑,๐๓๐ ๑,๑๔๕ ๒,๑๗๕
รวม ๒,๘๒๙ ๕,๐๔๓ ๕,๓๙๑ ๑๐,๔๓๔

 

ศาสนาและศิลปวัฒนธรรมตำบลมูโนะ

                 ตำบลมูโนะ อำเภอสุไหงโก-ลก ตั้งอยู่ในจังหวัดนราธิวาส จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีเอกลักษณ์อันโดดเด่น  ทางภาษาและวัฒนธรรมท้องถิ่น  โดยประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม  เอกลักษณ์ที่สำคัญของประชากรในแถบนี้  คือ

                 ๑.  การแต่งกาย   ไม่มีเครื่องแบบที่แน่นอน  แต่ต้องแต่งกายให้สุภาพ  ไม่เปิดเผยส่วนใดของร่างกายที่ยั่วยวนอารมณ์ทางเพศของทั้งชาย และหญิง  โดยส่วนใหญ่ผู้ชายนิยมนุ่งโสร่งหรือกางเกงขายาว สวมเสื้อแขนยาว ถึงข้อมือและสวมหมวกกาปีเยาะ   ส่วนผู้หญิงก็จะสวมเสื้อแขนยาวถึงข้อมือและนุ่งผ้าคลุมถึงข้อเท้าตามข้อบัญญัติศาสนา

                ๒.  พิธีถือศีลอด  (ถือบวช)  หรือในภาษายาวีเรียกว่า “ปอซอ”  จะถือปฏิบัติในเดือน “รอมฎอน” หรือเดือนที่ ๙  ของปีฮิจเราะห์ศักราช   ชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามทุกคน จะถือศีลอดเป็นเวลา ๑ เดือน  โดยจะงดเว้นจากสิ่งอบายมุขทั้งหลาย  ทั้งทางกาย  วาจา  และใจ  ตั้งแต่รุ่งอรุณจนกระทั่งพระอาทิตย์ตกดิน  ทั้งนี้เพื่อให้ชาวมุสลิมได้รู้สึกถึงภาวะการอดกลั้น และให้รู้สึกถึงสภาพของผู้ที่ยากจน  เป็นต้น

               ๓.  การเข้าสุนัต   เป็นหลักการของศาสนาอิสลาม ที่ถือหลักความสะอาด คือ การขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะกระทำแก่เด็กชายที่มีอายุระหว่าง  ๖ – ๑๒ ปี  ภาษาถิ่นเรียกว่า “ มาโซะยาวี ”

               .  ฮารีรายอ    ในรอบปีฮิจเราะห์ศักราช  จะมีวันรายอ  ๒  ครั้ง  คือ

                           ๔.๑ วันอีดิลฟิตรี  คือวันเฉลิมฉลองในศาสนาอิสลาม  (หลังการออกบวช) โดยจะมีกิจกรรมต่างๆ เช่น  แต่งกายให้สะอาดเรียบร้อย  ร่วมกันทำพิธีละหมาดที่มัสยิด  เยี่ยมเยียนญาติพี่น้อง  เป็นต้น  ซึ่งจะตรงกับวันที่ ๑  เดือน “เชาวาล”  เดือนที่  ๑๐  ของปีฮิจเราะห์ศักราช

                           ๔.๒  วันอิดิลอัฎฮา  คือวันเฉลิมฉลองในศาสนาอิสลามอีกครั้งหนึ่ง  โดยจะมีการการเชือดสัตว์พลี (กุรบาน)  และเลี้ยงอาหารให้แก่ผู้ยากจน  หรือญาติมิตร หลังจากได้ทำพิธีละหมาดในตอนเช้าแล้ว  จะตรงกับวันที่  ๑๐  ซุลฮิจญะห์  เดือนที่  ๑๒  ของปีฮิจเราะห์ศักราช

              ๕.  ขนบธรรมเนียมการเคารพ   ชาวมุสลิมเมื่อพบปะกันก็จะกล่าว “ อัสลามูอาลัยกูม ” (ขอความสันติจงมีแด่ท่าน) และมีการรับว่า  “ วาอาลัยกูมมุสลาม ” (ความสันติจงมีแด่ท่านเช่นกัน) และยื่นมือสัมผัสกัน (ซาลาม)

ศิลปการแสดงพื้นบ้าน

            ๑.  ซีละ   คือ   ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว  ที่มีลักษณะคล้ายมวยไทย  และมีลักษณะคล้ายมวยปล้ำ รวมกัน  (มีการแตะ ถีบ ต่อย และมีการปล้ำให้ล้มกันด้วย)

             . กรือโต๊ะ เป็นชื่อกลอง มีลักษณะคล้ายโอ่ง ทำจากไม้เนื้อแข็ง มีแผ่นไม้ประกอบ ใช้ไม้หุ้มยางนำมาตี กรือโต๊ะหรือกลองหุ้ม จะใช้ตีในงานพิธีสำคัญๆ ที่จัดขึ้นภายในหมู่บ้าน หรือต้อนรับแขกเมืองที่เข้ามาเยี่ยมเยือนในพื้นที่ หรือตีแจ้งข่าวสารไปยังหมู่บ้านข้างเคียงเมื่อมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น ปัจจุบันยังนำมาตีประชัน แข่งขันระหว่างหมู่บ้าน

สถานที่ราชการในตำบล

๑.องค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ

๒.สถานีตำรวจภูธรมูโนะ

๓.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมูโนะ

๔.ฐานปฏิบัติการชุดเฝ้าตรวจชายแดน ที่ ๔๔๑๒

๕.โรงเรียนบ้านมูโนะ

๖.โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะลือซง

๗.โรงเรียนบ้านปาดังยอ

๘.โรงเรียนบ้านปูโป๊ะ

๙.การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน) ตำบลมูโนะ 

๑๐.โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาโก-ลก

๑๑.ชุดคุ้มครองตำบลมูโนะ (ชคต.มูโนะ)

ด้านการแพทย์และสาธารณสุข

             การบริการทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข  ในเขตตำบลมูโนะ  ประชาชนสามารถรับบริการ ได้จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมูโนะ  เปิดบริการทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ ให้บริการรักษาโรคและการปฐมพยาบาลเบื้องต้นรวมทั้งงานเสริมสร้างสุขภาพและส่งเสริมป้องกันแก่ประชาชน บริการรักษาพยาบาลตามหลักประกันสุขภาพ  และยังมีอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน ( อสม.) ทุกหมู่บ้าน

การรักษาความสงบเรียบร้อย / ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

                ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ถือเป็นเรื่องสำคัญ  ในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพของประชาชน  จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งตำบลมูโนะ มีปัญหาในเรื่องการก่อการร้ายของผู้ก่อการร้าย  โดยจะมุ่งสร้างความไม่สงบในพื้นที่  ในการแก้ปัญหาจึงต้องอาศัยความร่วมมือจาก  ทุกฝ่ายในการแก้ปัญหา  รวมทั้งความเอาจริงเอาจังของทุกภาครัฐในการดำเนินการ  และหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในด้านการรักษาความปลอดภัยในเขตตำบลมูโนะ  คือ  สถานีตำรวจภูธรมูโนะ  และฐานปฏิบัติการชุดเฝ้าตรวจชายแดน ที่ ๔๔๑๒

ข้อมูลจำนวนพื้นที่ตำบลมูโนะ

หมู่ที่พื้นที่
(ไร่)
พื้นที่
(ตารางกิโลเมตร)
หมายเหตุ
หมู่ที่ ๑ บ้านมูโนะ๑,๘๘๕๒.๙๖๖
หมู่ที่ ๒ บ้านลูโบ๊ะลือซง๓,๐๖๗๔.๘๕๙
หมู่ที่ ๓ บ้านปาดังยอ๒,๗๔๗๔.๓๔๗
หมู่ที่ ๔ บ้านปูโป๊ะ๓,๕๐๐๕.๕๕๒
หมู่ที่ ๕ บ้านบูเก๊ะ๒,๓๓๙๓.๖๙๔